

อาหารอันตราย 10 ที่ผู้ป่วยโรคไตวายควรหลีกเลี่ยง
โรคไตเป็นโรคที่มักเป็นเรื้อรัง การควบคุมอาหารจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ทำให้ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตอยู่กับโรคนี้ได้ ผู้ป่วยควรเลือกอาหารโซเดียมต่ำหรืออาหารสำหรับคนเป็นโรคไต เช่น ซอสหอยเป๋าฮื้อ, น้ำปลาโซเดียมต่ำ เป็นต้น ที่สำคัญยังควรหลีกเลี่ยงอาหารต้องห้ามสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายอีกด้วย
เกลือ
เกลือเป็นส่วนประกอบหลักที่ทำให้ความดันโลหิตสูง คนเราควรบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน อาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น อาหารแช่แข็ง, ขนมขบเคี้ยว, แครกเกอร์, เครื่องปรุง เช่น ซอสมะเขือเทศ, ซอสบาร์บีคิว, ซอสหอย, และอาหารหมักดองจึงเป็นอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ป่วยโรคไต
น้ำตาล
น้ำตาลสามารถพบได้ทั้งในธรรมชาติและอาหารที่ผ่านกระบวนการผลิต น้ำตาลธรรมชาติมักอยู่ในผลไม้ซึ่งผลไม้มีวิตามินและแร่ธาตุมากมายที่ต้องการ แต่หากเป็นน้ำตาลที่เพิ่มเข้ามาในกระบวนการผลิตอาหาร มักจะมีสารอาหารที่น้อยกว่า
น้ำอัดลม
น้ำอัดลมโดยเฉพาะน้ำอัดลมที่มีสีมีแคลอรี่และน้ำตาลสูง มักมีฟอสฟอรัสมากเพื่อใช้ในการแต่งรสชาติ, ยืดวันหมดอายุ, และป้องกันการเปลี่ยนสี ฟอสฟอรัสที่เติมเข้ามาจะถูกดูดซึมโดยทางเดินทางอาหารเป็นจำนวนมาก ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคไตจึงควรหลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำอัดลม นอกจากนี้น้ำอัดลมหรือเครื่องดื่มชูกำลังยังทำให้เกิดนิ่วในไตอีกด้วย
อาหารกระป๋อง
ปัจจุบันนี้อาหารกระป๋องเป็นอาหารที่หาได้ง่ายและสะดวก ซุป, ผัก, และถั่วจะถูกบรรจุลงในกระป๋องเพื่อถนอมอาหารและยืดวันหมดอายุ ในอาหารกระป๋องมีโซเดียมมาก จึงเป็นอาหารที่ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยง
ผลิตภัณฑ์จากนม
ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น นม, ชีส, และโยเกิร์ตอุดมไปด้วยวิตามิน, สารอาหาร, ฟอสฟอรัส, โพแทสเซียม, และโปรตีนที่ต่างกัน การรับประทานมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อผู้ป่วยโรคไต เนื่องจากเมื่อไตถูกทำลาย โพแทสเซียมในเลือดจะเพิ่มขึ้น ทำให้มีการดึงแคลเซียมออกจากกระดูก ส่งผลให้กระดูกบางและหักง่าย
เนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการผลิต
เนื้อสัตว์ถูกนำไปผ่านกระบวนการผลิตด้วยการใส่เกลือ, อบแห้ง, หมัก, หรือบรรจุลงกระป๋องเพื่อยืดวันหมดอายุ เนื้อสัตว์พวกนี้มักอุดมไปด้วยโปรตีน แต่ผู้ป่วยโรคไตก็ควรจำกัดปริมาณการรับประทาน
ขนมปังโฮลวีท
ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยงการบริโภคขนมปังโฮลวีท ยิ่งขนมปังโฮลวีทมีธัญพืชเป็นส่วนประกอบอยู่มากเท่าใด ก็ยิ่งมีปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูงเท่านั้น
ข้าวกล้อง
ข้าวกล้องมีปริมาณโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสมากเช่นเดียวกับขนมปังโฮลวีท ข้าวสาลี, ข้าวบาร์เลย์, ข้าวบัควีท, และคูสคูสอุดมไปด้วยสารอาหารและยังมีปริมาณฟอสฟอรัสน้อยกว่า ดังนั้นจึงเป็นทางเลือกที่ดีแทนการบริโภคข้าวกล้องและถือเป็นอาหารสําหรับคนเป็นโรคไต
คาเฟอีน
คาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นที่มักพบในกาแฟ, ชา, น้ำอัดลม, และอาหาร คาเฟอีนทำให้ความดันโลหิตสูงและทำให้ไตทำงานหนักมากขึ้น อีกทั้งปริมาณคาเฟอีนที่มากเกินไปยังทำให้เกิดนิ่วในไตอีกด้วย
ผลไม้ที่มีโพแพสเซียมสูง
ผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น กล้วย, ส้ม, อาโวคาโด, และผลไม้เขตร้อนอื่น ๆ เป็นผลไม้ที่ควรหลีกเลี่ยง ส่วนผลไม้ที่สามารถรับประทานแทนได้เนื่องจากมีปริมาณโพแทสเซียมต่ำ ได้แก่ สัปปะรด, องุ่น, แอปเปิ้ล, และแครนเบอรรี เป็นต้น
แหล่งที่มา
https://www.healthline.com/nutrition/foods-to-avoid-with-kidney-disease
https://www.piedmont.org/living-better/be-aware-of-kidney-damaging-foods
https://www.durhamnephrology.com/10-foods-to-eat-or-avoid-if-you-have-kidney-disease/
B04-luckasauce_com-HMKK
