

การบริโภคโซเดียมและอาหารสำหรับคนเป็นโรคไต
โซเดียมคืออะไร?
โซเดียมเป็นแร่ธาตุที่มักพบมากในอาหารและใช้เป็นเกลือสำหรับบริโภค โดยเกลือคือแร่ธาตุที่ประกอบด้วยโซเดียมคลอไรด์ แพทย์และนักโภชนาการมักแนะนำผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง (CKD) ให้รับประทานอาหารโซเดียมต่ำโดยการจำกัดปริมาณเกลือและส่วนผสมอื่น ๆ ที่มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ
โซเดียมและการทำงานของไต
ไตเป็นอวัยวะหนึ่งที่มีความสำคัญในร่างกายซึ่งทำหน้าที่กรองและขับของเหลวออกจากเลือดผ่านการออสโมซิส ความสมดุลของโซเดียมและโพแทสเซียมเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากช่วยในการดึงน้ำออกจากกระแสเลือดเข้าสู่ส่วนกักเก็บในไต ความสมดุลของโซเดียมขึ้นอยู่กับปริมาณการบริโภคเกลือ หากบริโภคมาก ปริมาณโปรตีนในปัสสาวะก็จะสูง ทำให้การทำงานของไตลดลง อีกทั้งทำให้ขับน้ำออกทางปัสสาวะได้น้อย จึงทำให้เกิดโรคไตได้ สำหรับผู้ที่เป็นโรคไตอยู่แล้ว การบริโภคเกลือในปริมาณมาก ก็อาจทำให้โรคไตแย่ลงได้เช่นกัน
การบริโภคโซเดียมในปริมาณมากส่งผลต่อโรคไตอย่างไร
โซเดียมส่งผลต่อระดับความดันโลหิต, ปริมาณเลือด, ความสมดุลกรดของเลือดและของเหลวภายในร่างกาย, การกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและการหดตัวของกล้ามเนื้อ เมื่อไตทำงานได้ไม่ดี โซเดียมและของเหลวส่วนเกินจะสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อและกระแสโลหิต ทำให้เกิดอาการขา มือ และใบหน้าบวม, ความดันโลหิตสูง, ตัวบวม, หัวใจล้มเหลว (ของเหลวส่วนเกินในกระแสโลหิตทำให้หัวใจทำงานหนัก จึงทำให้หัวใจโตขึ้นและทำงานได้ไม่ดี), และหายใจลำบาก (ของเหลวคั่งในปอดทำให้หายใจเหนื่อยขึ้น)
ปริมาณการบริโภคเกลือที่แนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคไต
ผู้ป่วยโรคไตควรทราบปริมาณเกลือที่ควรบริโภคต่อวัน หากต้องการรับจำกัดปริมาณโซเดียม ไม่ควรรับประทานโซเดียมมากกว่า 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน และควรพิจารณาปริมาณโซเดียมในอาหารด้วย
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะเริ่มแรกควรปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการเพื่อเฝ้าติดตามระดับความดันโลหิต โดยแพทย์และนักโภชนาการจะกำหนดปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับต่อวันและให้คำแนะนำในการจำกัดปริมาณโซเดียมในอาหารอีกด้วย หากคุณสามารถจำกัดการบริโภคโซเดียมได้ดี จะสามารถลดการเกิดความดันโลหิตต่ำระหว่างฟอกไตได้ ดังนั้นหากคุณมีภาวะความดันโลหิตสูงหรือมีของเหลวส่วนเกินในร่างกาย การจำกัดปริมาณโซเดียมก็ถือเป็นสิ่งจำเป็น
เคล็ดลับในการจำกัดปริมาณโซเดียม
ใช้เครื่องปรุงโลโซเดียม, น้ำปลาโซเดียมต่ำ, และซอสหอยเป๋าฮื้อในอาหารที่คุณรับประทาน
อ่านฉลากโภชนาการเพื่อเลือกอาหารโซเดียมต่ำ
เลี่ยงอาหารที่ทำจากเกลือทดแทนโซเดียมเนื่องจากจะมีปริมาณโพแพสเซียมสูง
เมื่อรับประทานอาหารนอกบ้าน ควรเลือกเนื้อสัตว์หรือปลาที่ไม่ได้ปรุงด้วยเกลือ
จำกัดการบริโภคอาหารกระป๋อง, อาหารแปรรูป, และอาหารแช่แข็งให้มากที่สุด
เลี่ยงเครื่องดื่มที่มีโซเดียม
ปรึกษาแพทย์หากน้ำหนักมีการเปลี่ยนแปลงหรือมีอาการบวม
Sources
https://www.kidney.org/atoz/content/sodiumckd
http://www.actiononsalt.org.uk/salthealth/factsheets/kidney/
https://www.davita.com/diet-nutrition/articles/basics/sodium-and-chronic-kidney-disease
B02-luckasauce_com-HMKK
